จักรยานเสือภูเขาระบบขับเคลื่อน 1X drivetrains chainring ที่มือใหม่ควรรู้
ว่าด้วยเรื่องของ 1X drivetrains chainring หรือ single-ring drivetrains
บทความนี้ผมตั้งใจเขียนขึ้นเพราะอยากให้นักปั่นมือใหม่หรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับจักรยานเสือภูเขาได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างเช่น single-ring drivetrains หรือ 1X drivetrains chainring จริงๆแล้วผมเคยเจอมาสักพักหนึ่งแล้วแต่ไม่ได้สนใจอีกอย่างเสือภูเขาที่ผมสนใจมันไม่ได้มีไอ้ระบบที่ว่านี้ ส่วนใหญ่แล้วมันเป็นพวกฟูลซัส หรือ เสือภูเขาราคาแพงเป็นแสนขึ้นไป
ต้องยกความดีให้กับจักรยาน Specialized S-Works Epic ที่ใช้ระบบนี้อยู่ และผมได้แวะเข้าไปอ่านฟอรั่มในเวบไซต์เกี่ยวกับเสือภูเขา (จำไม่ได้ครับว่าเวบไหน) เค้าพูดถึงระบบนี้อย่างกว้างขวางจึงทำให้ผมรู้สึกสนใจขึ้นมาว่า มันคืออะไรไอ้ 1X เนี่ยแล้วมันดียังไง ดูผ่านก็คล้ายๆกับจักรยานแม่บ้านใส่จานเกียร์ ความจริงแล้ว ระบบนี้ไม่ได้เพิ่งจะมี แต่มีมานานแล้วแต่ว่าอะไรก็ตามที่เริ่มเป็นกล่าวขานกันในเวบไซต์ สิ่งนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าติดตามมากขึ้นกว่าเดิม และเรื่อง single-ring drivetrains นี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ทำไม single-ring drivetrains จึงน่าใช้และน่าสนใจ
· น้ำหนักเบา – เนื่องมาจากว่า จานหน้ามีเพียงจานเดียว ไม่ต้องมีตัวสับจานหน้า ตัวเปลี่ยนเกียร์ให้ยุ่งยากอีกต่อไป มันจึงลดน้ำหนักตรงนี้ไปโดยปริยาย
· ใช้ง่าย – คุณจะมุ่งเน้นไปที่การปั่นเพียงเดียว ไม่ต้องมาพะวงกับมือเกียร์ทั้งซ้ายและขวา ไม่ต้องคอยหาข้อมูลเรื่องการใช้เกียร์สำหรับจักรยานเสือภูเขาอีกต่อไป เทคนิคและประสิทธิภาพก็ไม่ต้องมาวุ่นวายใจคุณอีกด้วย
· ดูแลรักษาง่าย – เมื่อมันมีอุปกรณ์น้อยชิ้น มันก็ย่อมไม่ต้องดูแลอะไรมาก
· ระยะท้องรถ – การใช้ 1X drivetrain ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเซตที่มีขนาดเล็ก มากกว่าชุดปกติที่ใช้กัน ดังนั้นจึงได้เปรียบเรื่องระยะห่างของท้องรถ (ground clearance)
ชุดจานหน้าชนิดไหนที่เราควรจะใช้
เมื่อเราเปลี่ยนมาใช้จานหน้าแบบ ชั้นเดียว หรือแบบจานเดี่ยว ไม่ต้องกังวลว่าเราจะไม่มีชุดที่เข้ากับจานหน้าแบบนี้ได้ เพราะเรายังสามารถใช้เฟื่องหลังได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของ Sram หรือ Shimano ที่มี 9 ถึง 11 สปิดเลยทีเดียว
ชุดขับเคลื่อน 9 สปีด หรือ เฟื่อง 9 ที่แนะนำ
· Shimano XTR M970 | 11-34T or 12-34T
· Shimano XT M770 | 11-32T or 11-34T
· Shimano HG61 | 12-36T
· SRAM PG 990 | 11-32T or 11-34T
· SRAM PG 980 | 11-32T or 11-34T
· SRAM PG 970 | 11-32T or 11-34T
Suggested 10-Speed Cassettes
· Shimano XTR M980 | 11-34T or 11-36T
· Shimano XT M771 | 11-34T or 11-36T
· Shimano SLX HG81 | 11-34T or 11-36T
· SRAM XG 1080 | 11-36T
· SRAM PG 1070 | 11-36T or 12-36T
Suggested 11-Speed Cassette
· SRAM XX1 XG 1199 | 10-42T
ตีนผีแบบไหนที่เราจะต้องใช้เมื่อเปลี่ยนมาใช้ 1X drivetrain
เมื่อเราตั้งใจจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ 1X drivetrain ตีนผีที่เราควรจะใช้ตีนผีแบบขากลาง (หรือที่ Shimano เรียกว่า GS) เนื่องจากเราไม่ต้องใช้สับจานหน้า หรือ ใช้จานหน้าเพียงหนึ่งเดียว ความใหญ่ของตีนผีไม่ได้สร้างปัญหาใหญ่ให้กับเรามากมายนัก เหมือนกันๆกับตีนผีแบบกลางและสั้น อย่างไรก็ตามตีนผีขนาดสั้นจะให้ความได้เปรียบเวลาที่เราลุยไปตามโขดหิน ปัจจุบันนี้ มีตีนผี 2 แบบประเภทคือ Type 2 จาก SRAM และ Shadow Plus จาก Shimano ตีนผีประเภทนี้จะรักษาความตึงของโซ่ได้ดี และไม่มีการกระตุกขึ้น-ลง ไม่มีเสียงดังเวลาเปลี่ยนเกียร์ และเงียบไม่ว่าจะอยู่ในสภาพไหน
Suggested 9-Speed Derailleurs
· Shimano XTR M972
· Shimano XT M772
· Shimano SLX M662
· SRAM X.0
· SRAM X.9
Suggested 10-Speed Derailleurs
· Shimano XTR M986 Shadow Plus
· Shimano XTR M981
· Shimano XTR M980
· Shimano XT M786 Shadow Plus
· Shimano XT M781
· Shimano XT M780
· Shimano SLX M675 Shadow Plus
· Shimano SLX M670
· Shimano SLX M663
· Shimano Zee M640 Shadow Plus
· SRAM X.0
· SRAM X.0 Type 2
· SRAM X.9
· SRAM X.9 Type 2
Suggested 11-Speed Derailleurs
· SRAM XX1
เราจะต้องชุดจานหน้าขนาดและชนิดไหนสำหรับ 1X drivetrains
ทำไมนักปั่นจำนวนมากจึงหันมานิยมใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ 1X drivetrains นั้นก็เพราะว่าจานหน้าแบบใหม่นี้มันถูกสร้างให้หนาขึ้น และขนาดร่องฟันที่แตกต่างกัน สังเกตุดีๆนะครับร่องฟันจะมีแบบเหลี่ยม และไม่เหลี่ยมสลับกัน ดูจากรูปข้างบนก็ได้ครับ เห็นเค้าว่ามันดีสำหรับโซ่ ในแง่ของการไม่ก่อให้เกิดการสึกหรอมาก เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของจานหน้าในขณะนี้จะเป็นแบบออกแบบให้ไม่ต้องมีไกด์โซ่ โดยใช้เพียงคลัชของตีนผีเท่านั้น
สิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจสำหรับอุปกรณ์ในส่วนนี้นั้นก็คือ เราจะต้องรู้ว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของจานหน้า crankset BCD (Bolt Circle Diameter) ที่เราจะใช้นั้นเท่าไหร่โดยจะวัดเอง หรือ เช็คจากสเปคของโรงงานก็ได้ ถ้าเราใช้จานที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมาตรฐานที่ 104 BCD เราก็จะมีตัวเลือกให้ใช้ได้มากมายเลยทีเดียว แต่ถ้าเราใช้ SRAM X9/X0/AKA/OE S1400/ OE S2210 or XTR M985 ที่มี 88 BCD เราก็จะมีตัวเลือกที่ไม่มากนัก
นักปั่นส่วนใหญ่จะรู้สึกว่า จำนวนฟัน 30-32T เป็นขนาดที่ดีสำหรับการปั่นทั่วไป แต่ว่าเราก็สามารถที่ใช้จำนวนฟันอย่างน้อยสุดที่ 20 ฟัน และในกรณีถ้าเราไม่ได้ใช้ปีนป่ายเขาบ่อยๆ 32-38T จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
Suggested chainrings:
· Wolf Tooth Components- แหวนนี้ผลิตในอเมริกา และออกแบบโดยไม่มี ไกด์โซ่ ใช้สำหรับ Type 2 or Shadow Plus เช่น 104mm BCD | 30-36T
· North Shore Billet- แหวนนี้ออกแบบมาเพื่อชุดจานหน้าของ SRAM spline และผลิตในแคนาดา เช่น SRAM spline | 27T-36T
· MRP- เป็นจานหน้ามาตรฐาน 4 ตัวน็อต และ สำหรับ SRAM spline ผลิตในสหรัฐอเมริกา เช่น 104mm BCD | 30-4oT, SRAM spline | 28-36T
· Homebrewed Components- ผลิตจากอเมริกา โดย Dan Wilcox, จานหน้าเหล่านี้ทำมาจากอลูมิเนียม และไททาเนียม ส่วนใหญ่จะเป็นจานหน้าที่ทำมาเพื่อโซ่ขนาด 3/32″ หรือ 1/8″ เช่น 102mm BCD (Shimano M960) | 31-36T, 104mm BCD | 31-36T, 88mm BCD (Shimano M985) | 28-36T
· RCR Fabrication- ชุดจานหน้าของรายนี้ถือว่ายังใหม่อยู่มากในตลาด แต่ก็ยังได้รับเสียงตอบรับที่ดี และนอกจากนี้ยังผลิตในอเมริกา เช่น SRAM Spline | 32T or 34T
· Anderson Machines- ผลิตในอเมริกา แต่ว่ายังมีข้อเสียอยู่นิดนึงคือ ตัวเมาท์สำหรับใส่น็อตอาจจะต้องใช้ความปรับแต่งนิดหนึ่งนะครับ เช่น 104 BCD | 30T
· Blackspire- เป็นจานหน้าที่ผลิตมาเพื่อใช้ในชุด 1X drivetrain และใช้ได้หลากหลายกับเส้นผ่าศูนย์กลาง BCD ใดๆก็ได้ เช่น
- 104mm BCD | 32, 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39T
- 94mm BCD | 30, 32, 34, 36, 38T
- 110mm BCD | 34, 36, 38T
- 102mm BCD | 32, 33, 34T
จานหน้าบางประเภทก็ไม่ใช้ ไกด์โซ่ (chainguide) แล้วจริงๆเราต้องใช้มันไหม?
นักปั่นส่วนใหญ่ยังเห็นว่าไกด์โซ่ยังเป็นชิ้นส่วนที่มีความจำเป็นอยู่ แต่เท่าที่ผมหาข้อมูลมานั้นส่วนใหญ่จานหน้าแบบใหม่จะไม่ใช้ไกด์โซ่ด้วย หากจะคิดแบบตลกๆก็เท่ากับเราโยนการประกันภัยทางด้านอุบัติเหตุในกรณีที่โซ่อาจจะบาดเราได้ ซึ่งทางที่ดีเราไม่ควรจะโยนไกด์โซ่ทิ้งไปหากเอารถไปลุยในสภาพ 4x4
จริงๆแล้วในตลาดก็ยังมีไกด์โซ่ที่ดีอยู่เยอะ ซึ่งอาจจะดูเป็นไกด์ที่ติดตรงส่วนบนของจานหน้าแต่มันก็ป้องกันขาของเราได้ในระดับหนึ่ง
Suggested chainguides:
· MRP – 1X, Lopes SL, AMG
· e.thirteen – XCX+
· Paul Components – Chain Keeper (made in the USA)
โซ่แบบไหนดีที่เราควรจะใช้?
ความจริงพออ่านข้อมูลไปเรื่อยๆแล้ว มันก็ไม่มีอะไรพิเศษมากนักเกี่ยวกับการซื้อโซ่แบบ 1X drivetrain อย่างน้อยก็แค่ เราใช้ SRAM XX1. สิ่งสำคัญมีเพียงแค่มันเป็นเกียร์กี่สปีด 9,10, หรือ 11 สปีด เพื่อที่ให้มันเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบกับชุดจานหน้าของเรา และเราจะต้องเซ็ตโซ่ให้มีความตึงที่พอเหมาะด้วย อย่างน้อยเราก็ไม่อยากที่จะเสียโซ่ไป หรือเหมือนกันเหวี่ยงโซ่ทิ้งไปในขณะที่ลุยไปตามโขดหินถ้าเราเซ็ตโซ่หย่อนเกินไป
Suggested Chains:
9-Speed
· KMC X9SL
· Shimano HG73, HG93
· SRAM 971, 991
10-Speed
· KMC X10SL
· Shimano HG74, HG94
· SRAM 1071, 1091
11-Speed
· SRAM PC-XX1
หวังว่าข้อมูลที่ผมค้นหามานี้จะพอเป็นประโยชน์ให้กับนักปั่นทุกๆท่านนะครับ หรือหากผมตกหล่นตรงไหน ข้อมูลตรงไหนผิดพลาดก็ยินดีรับคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ หรือหากทุกๆท่านจะแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับจากการปั่น 1X drivetrains ให้กับผมและนักอ่านท่านอื่นๆผมก็ยินดีครับ เพราะสำหรับผมแล้วมันถือว่าเป็นเรื่องที่น่ารู้มากๆครับ มีเสือภูเขาแบบนี้อยู่มากเหมือนกันในต่างประเทศ ถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับผมก็ว่าได้ครับ
โฆษณา advertise
ก่อนออกไปปั่นจักรยาน อย่าลืมเตรียมสิ่งของจำเป็นพร้อม วอร์มร่างกายไปให้พร้อมน่ะค่ะ
ตอบลบwww.facebook.com/cyclingthing
www.cyclingthing.com
http://m.facebook.com/cyclingthing