คำเตือนสำหรับผู้คัดลอก

เนื่องจากมีผู้คิดคัดลอก บทความบางส่วน หรือ บทความทั้งหมด จากเว็บบล็อก http://mountainbikedetail.blogspot.com/
ผู้ที่คัดลอกต้องแสดงการอ้างอิง หรือ ให้ลิงค์กลับมายัง เวบบล็อก ของเราหรือแสดงความจำนงที่จะนำบทความไปใช้ โดยแจ้งผ่านทางอีเมล์ หรือ ทางแฟนเพจ

มิฉะนั้น ทางเราจะแจ้งดำเนินคดี ฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธ์

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Top 5 จักรยานเสือภูเขาที่ราคาแพงที่สุดในปี 2017

โฆษณา



มาดูกันครับว่า Top 5 ของจักรยานเสือภูเขาที่แพงที่สุดในโลกปี 2017 มีอะไรบ้าง?


ถึงแม้ว่าปีนี้จะเป็นปี 2018 และผ่านมาครึ่งปีแล้ว แต่ยังไม่มีการประกาศรายชือหรือยี่ห้อของจักรยานเสือภูเขาประเภทใดออกมา เพราะจะประกาศกันอีกทีก็ปีหน้า 2019 โน้นแหละครับ ตอนนี้ยังมีรายการแข่งขันหลายรายการ ที่จะต้องมีการจับตามอง มีการค้นหาว่า จะมีจักรยานเสือภูเขาจากค่ายไหนบ้างที่จะเข้า win และได้รับการยอมรับจัดอันดับประจำปี ซึ่งแน่นอนว่าเราจะนำมารายงานให้ได้ทราบกันเป็นระยะๆ

สำหรับคนที่ชื่นชอบจักรยานเสือภูเขา ในเว็บไซต์ต่างๆก็จะมีรีวิว มีการให้คะแนนว่าเสือภูเขาตัวไหนดี น่าจะซื้อหา น่าจะจับจอง ซึ่งจริงๆแล้วเราอยากจะให้คุณๆท่านๆได้พิจารณาถึงความต้องการใช้งานของเราเป็นหลัก แล้วต่อมาจึงเป็นงบประมาณที่เรามี หากเราไปซื้อตามคำเชียร์หรือคำแนะนำอื่นๆแล้วจะต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ อาจจะไม่คุ้มค่ากับการซื้อมาแล้วจอดอยู่บ้านเฉยๆ

อืม...บางครั้งถ้าเราคิดฝันกลางวันว่า ถ้าถูกรางวัลที่ 1 สักงวด จักรยานเสือภูเขาในฝันที่อยากจะซื้อมาลองปั่นสักคัน จะเป็นคันไหนดีนะ? รู้สึกลำบากใจ แต่ลองหาข้อมูลกันเล่นๆดีกว่าว่าอันไหนยี่ห้อที่เราอยากได้

Top 5 จักรยานเสือภูเขาที่แสนแพงที่สุดในโลก


อันดับที่ 5 Cannondale F-SI Black Inc. ราคาที่ $11,000 หรือราวๆ 363,000 บาท




จักรยานเสือภูเขารุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ทางผู้ผลิตอย่าง Cannondale ได้ประกาศว่า จักรยาน F-SI Black Inc. เป็นจักรยานที่เร็วที่สุด "fastet [sic] XC hardtail เท่าทที่เคยทำขึ้นมา" ฟังดูแล้วมันน่าจะเป็นการกล่าวอ้างที่น่าจะเคยความเป็นจริงไปสะหน่อย แต่มันก็ทำให้ผู้คนอยากรู้ขึ้นมาว่า มันจะเป็นจริงหรือเปล่า? จากนั้นยอดขายก็ตามมา!

จักรยานตัวนี้มีโช้คอัพเพียงข้างเดียว คือข้างซ้าย (lefty carbon fork) 100mm XLR , ชุดขับเคลื่อนของ Shimano XTR Di2 2×11, ชุคเบรค XTR Race และล้อ carbon ENVE M50

คนที่ซื้อจักรยานเสือภูเขารุ่นนี้ จะชอบที่การออกแบบ และชุดอุปกรณ์ที่แบบว่าจัดเต็มทุกตัว คาร์บอนคุณภาพสูง ก็คงเหมือนกับรถยนต์นั่นแหละ บางคนชอบรถซีดาน บางคนชอบสปอร์ต

อันที่ 4 Bianchi Methanol 9.1 CV ราคา $11,500 หรือราวๆ 379,500 บาท



โดยทั่วไปแล้ว  Bianchi เป็นที่รู้จักกันมากสำหรับจักรยานแบบ road bikes แต่พักหลังก็เริ่มที่จะหันมาเอาจริงกับจักรยานเสือภูเขาแบบ Hi-end กับเขาบ้าง ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ยากที่จะติดโผในครั้งนี้ด้วย และด้วยราคาประมาณ 370,000 กว่านี้ก็เป็นราคาที่น่าจะสูงที่สุดแล้วสำหรับ Bianchi

Methanol 9.1 CV  มาพร้อมกับคาร์บอนเต็มรูปแบบและ Boost-spaced ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Bianchi ได้จดสิทธิบัตรการเป็นเจ้าของ Countervail vibration canceling technology นี้ด้วย ระบบขับเคลื่อนจะใช้ SRAM XX1 1×12 Eagle drivetrain, นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับ Shimano Di2 ได้อีกด้วย

ระบบเบรคจะใช้ของ Formula R1 Racing, โช้ค 100mm Fox 32 Factory Kashima fork ใช้ล้ออัลลอย DT Swiss XR 1501 Spline 29er, ซึ่งในบางรุ่นก็จะใช้ของ Crankbrothers Cobalt

อันดับที่ 3 Felt Virtue FRD ราคา $12,500 หรือราวๆ 412,500 บาท



Felt Virtue FRD เป็นจักรยานที่มีช่วงยุบตัวของโช้คหน้า ที่ 140mm และด้านหลัง 130mm ซึ่งนับว่าเป็นระยะมาตรฐานของจักรยานเสือภูเขา ด้วย full-carbon frame มาพร้อมกับระบบ Felt’s Equilink  suspension และใช้ RockShox's Monarch RT3 Solo Air shock

ส่วนอุปกรณ์อื่นๆของ Felt Virtue FRD Shimano XTR Di2 2×11 drivetrain, XTR brakes, RockShox Reverb Stealth dropper post, and Easton Haven carbon 29er wheels.

อันดับที่ 2 Cannondale Scalpel-SI Black Inc. $12,790 หรือราวๆ 422,000 บาท



เจ้า Scalpel-SI Black Inc. เป็นจักรยานเสือภูเขาคาร์บอนเต็มสูบของ Cannondale ระบบกันสะเทือนหรือ full suspension แบบ no-holds-barred สำหรับแข่ง cross country ระยะยุบตัวของโช้คหน้า-หลังที่ 100mm

ซึ่งตัว Suspension ก็จะมาในรูปแบบของ Lefty 2.0 Carbon XLR ข้างซ้ายข้างเดียวเช่นเดียวกับรุ่นล่างๆก่อนหน้านี้  ส่วนด้านหลังจะใช้ RockShox Monarch XX ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ ระบบขับเคลื่อนของ Shimano XTR Di2 2 × 11, เบรค Shimano XTR Race และล้อ ENVE Carbon M50 ขนาด 29 "หรือ 27.5"

อันดับที่ 1 BMC fourstroke 01 XTR Di2 ราคา $13,000 หรือราวๆ 429,000 บาท



จักรยานเสือภูเขาที่มีราคาแพงที่สุดเพียงหนึ่งเดียวในโลก ซึ่งเราต้องใช้เงินในกระเป๋าถึง 4 แสนกว่าบาท ราคาพอๆกับรถยนต์ หรือ บิ๊กไบค์ที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนี้ของบ้านเรา ก็คล้ายๆกันกับ Cannondale ในอันดับที่ 2 ที่ BMC’s fourstroke 01 เป็นจักรยานท้อปสุดของสายการผลิต หรือเรือธงของรุ่น

นอกจากนั้นยังมีสเปคที่คล้ายกันอย่างคาดไม่ถึงคือ ระบบกันสะเทือนหรือ full suspension แบบ no-holds-barred สำหรับแข่ง cross country ระยะยุบตัวของโช้คหน้า-หลังที่ 100mm แตกต่างกันที่โช้คซึ่งเจ้า BMC ใช้ Fox Float 32 SC, Factory, FIT4, Kashima fork, Fox Float DPS, Factory, Evol, Kashima rear shock.

ส่วนระบบขับเคลื่อนก็จะใช้ของ Shimano’s XTR Di2 2×11 drivetrain ระบบเบรค Shimano XTR Race brakes, ส่วนล้อเป็น 29″ BMC MWX01 Carbon ที่ผลิตโดย DT Swiss

จบลงแล้วสำหรับโผหรือการจัดอันดับจักรยานเสือภูเขาที่ราคาแพงที่สุดในโลกประจำปี 2017 ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังคลางแคลงใจว่า แล้ว Rocky Mountain ล่ะ หรือ Speaclized Epic หรือ Intense carbine 29 c หรือตัวอื่นๆที่ราคา $11,000 เช่นเดียวกันทำไมไม่ติดอันดับกับเขา

เป็นคำถามที่ยังสร้างความแปลกประหลาดใจใช่ไหม ซึ่งเราเองก็อาจจะตอบได้เพียงว่า เมื่อนำประสิทธิภาพมาเปรียบเทียบต่อราคาแต่ละแบรนด์ ตัวที่ได้รับการจัดอันดับเป็นที่พึงพอใจ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการใช้งานและการออกแบบ

สุดท้ายเอารุ่น S-Works Epic XX1 Eagle 2018 มาฝากครับ


โฆษณา

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Carbon vs Aluminium mountain bike แบบไหน ถามใจคุณดู?

โฆษณา


เราจำเป็นต้องมีจักรยานเสือภูเขาคาร์บอนหรือไม่?

คาร์บอน Bike

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคาร์บอนเฟรมและชิ้นส่วนจักรยานที่เป็นคาร์บอนอื่นๆ มีความสำคัญอย่างมากในการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาที่แข่งขันกัน แต่สำหรับนักปั่นมือสมัครเล่นหรือไม่ได้คิดจะเข้าแข่งขันในรายการใดๆเลย อย่างผมหรือคุณ ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ลองมาดูข้อดีและข้อเสียของคาร์บอนกับอลูมิเนียมกันดีกว่า

Carbon vs Aluminium mountain bike

น้ำหนัก (weight)
สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนที่สุดและเป็นสิ่งที่ดีสำหรับ carbon mountain bikes นั่นก็คือ มันมีน้ำหนักเบา จริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นความลับอะไรมากมาย เพียงแต่เป็นสมัยนิยมเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบดีว่า เฟรมคาร์บอนก็ต้องเบากว่าเฟรมอลูมิเนียม 


อลูมิเนียมเฟรม

จริงๆแล้ว คุณสามารถซื้อจักรยานเสือภูเขาอลูมิเนียมที่มีคุณภาพซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าแบบคาร์บอน ถึงแม้ว่าหากเปรียบเทียบกันจริงๆแล้ว ถ้างานคาร์บอนที่มีฝีมือมีคุณภาพดีๆก็ต้องให้งานที่มีน้ำหนักเบากว่าอุปกรณ์อลูมิเนียมทั้งหลาย (งงไหม? กล่าวคือเราจะซื้อจักรยานอลูมิเนียมที่น้ำหนักเบาได้ แต่ก็ต้องระดับแพงสูง เมื่อเปรียบกับงานคาร์บอนทั่วไป แต่สำหรับเกรดคาร์บอนดีคุณภาพดีกว่านี้ ก็ย่อมจะดีกว่าอยู่แล้ว)

ข้อดีของการขี่จักรยานน้ำหนักเบา คือ มันสามารถทำความเร็วได้ดีกว่าจักรยานแบบอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่เรากำลังขึ้นทางชันหรือขึ้นเขา (uphills) นั่นเอง จักรยานเบายังง่ายต่อการเร่งและเปลี่ยน lines dynamic ได้ดีกว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ผู้ขับขี่จักรยานแบบ cross-country ยินดีที่จะจ่ายไม่ว่าจะแพงขนาดไหน

Aluminium mountain bike 


แล้วจักรยานเสือภูเขาแบบคาร์บอนมันดีกว่าจริงๆหรือ? 

อืม...มันมีฟิสิกส์ที่เรียบง่ายบอกเราว่าจักรยานที่หนักกว่าจะผลักดันให้คุณลง (down) ไปได้ดีกว่า ซึ่งในที่ที่มีความต้านทานทางอากาศ หมายความว่าคุณไปได้เร็วขึ้น นอกจากนี้จักรยานที่เบาเกินไปอาจกลายเป็นสิ่งที่ยากเย็นที่จะควบคุมมันให้อยู่ได้ในภูมิประเทศที่ขุรขระ

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่คุณจะเห็นผู้ขับขี่ enduro และ downhill จำนวนมาก มั่นใจและนั่งอย่างองอาจบนจักรยานเสือภูเขาเฟรมอลูมิเนียมหรืออัลลอยด์ของเขาหรือเธอ

ความแข็ง (Stiffness)

คุณภาพของเส้นใยคาร์บอนมีความแข็งแรงมากกว่าอลูมิเนียมและเหล็กกล้าที่มีน้ำหนักเท่ากันถึง 2 ถึง 5 เท่า มันจึงมีความหมายที่สำคัญสำหรับนักปั่นแบบ cross-country ที่น้ำหนักและความแข็งจะส่งผลให้มีความเร็วควบคุมได้ดี ทั้งยังตอบสนองต่อการปั่นได้ดี

แต่ความแข็งก็ไม่ได้หมายความว่าดีนักแม้แต่สำหรับผู้ขับขี่ที่เข้าแข่งขันกัน ผู้ขับขี่ enduro / trail และ downhill จำนวนมากเลือกเฟรมอัลลอยด์เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและการอะลุ่มอะล่วยต่อสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นประโยชน์ต่อรูปแบบการขี่ของพวกเขา

ความแข็งแรงและความทนทาน (Strength and Durability)

ความแข็งแรงของคาร์บอนไฟเบอร์และอลูมิเนียม เป็นคำถามที่ยุ่งยาก? มันทำให้หวนถึงวันที่ได้เห็นจักรยานเสือภูเขาเฟรมคาร์บอนแตกซึ่งบางคนอาจจะมองไปที่ความไม่คงทนของมัน มันจึงทำให้ทุกคนในวงการจักรยานรู้ดีว่าเฟรมคาร์บอน เป็นอะไรที่แตกหักเสียหายได้ง่าย (เอาไปเปรียบกับความแข็ง Stiffness ไม่ได้นะครับ เหมือนเราเอาช็อคโกแลตไปแช่ช่องฟรีส มันจะแข็งแบบนั้น ไม่ใช่ความแข็งแรงเพราะมันยังเปราะบางหักได้อยู่ดี)



ดังนั้นคาร์บอนจึงเป็นสูตรการผสมของวิศวกรการผลิตอีกทีหนึ่งว่าจะต้องผสมสารอะไรลงไปบ้างเพื่อให้มันแข็งแรง ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใช้สำหรับการแข่งแบบ cross-country กัน

ด้วยตัวมันเองแล้วคาร์บอนจะแตกและเปราะมาก แต่ด้วยการขึ้นรูปวัสดุที่เรียกว่าอีพ็อกซี่เรซิน บริษัทชั้นนำสามารถเพิ่มความเหนียวและความทนทานเพื่อให้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์มีความแข็งแรงมากขึ้น ทุกวันนี้ท่อบนของจักรยานเสือภูเขาแบบ enduro และ trail mountain bikes มีขนาดที่หนาและสามารถรองรับกับแรงกระแทก ขณะที่ยังคงมีน้ำหนักเบามาก

อย่างไรก็ตามทั้งสองวัสดุที่แตกต่างกันมีวิธีการที่แตกต่างกันมากของความล้มเหลว คาร์บอนจะแตกและเปราะหัก ในขณะที่อลูมิเนียมจะบุ๋มลงในครั้งแรกจากนั้นมันก็จะงอ และพังในที่สุด

พึงจำไว้ว่า "คาร์บอนนั้นเวลามันเสียหาย มันจะเกิดขึ้นทันทีและไม่มีการเตือนล่วงหน้า เหมือนกับอลูมิเนียม เพราะอลูมิเนียมนั้น มันจะบุ๋มและจากนั้นจะงอ ซึ่งเราจะเห็นได้และรู้ก่อนที่มันจะพัง"




อีกทฤษฎีหนึ่งบอกเราว่าในขณะที่เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์จะมีอายุการใช้งานไม่สิ้นสุด, อลูมิเนียมมักจะมีอายุการเก็บรักษาเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าวัสดุนี้จะเสื่อมสภาพไปตามเวลา วันนี้หลายบริษัทรับประกันอายุการใช้งานในเฟรมอัลลอยซึ่งอาจหมายความว่าความกังวลเหล่านี้หายไปนานแล้ว

สรุปว่า การที่คุณได้เห็นจักรยานเสือภูเขาหรือ road racing เกิดความหักเสียหายนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นมาจากเฟรมคาร์บอน ในทางกลับกันคุณจะได้เห็นความเสียหายเหล่านี้จากเฟรมอลูมิเนียมน้อยมาก

ราคา (Price)

แม้ว่าในขณะนี้เฟรมคาร์บอนจะมีราคาที่ถูกลงกว่าสมัยก่อนแล้ว แต่มันก็ยังมีราคาที่สูงกว่าจักรยานเสือภูเขาที่ทำจากอลูมิเนียมอยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงคุณภาพและปริมาณ ไม่ใช่แค่กรอบที่เรากำลังพูดถึงอยู่ที่นี่ มันยังมีจานหน้า, บาร์, เบรค, ผ้าเบรค, ล้อ และ สตีม ซึ่งเป็นตัวตัดสินใจในราคาที่แตกต่างกัน

เฟรมจักรยานเสือภูเขาที่ทำจากคาร์บอนมีราคาแพงกว่าอลูมิเนียม ยกตัวอย่างเช่น ล้อคาร์บอนจะแพงกว่าล้ออลูมิเนียมถึง 7 เท่า!! ยิ่งเป็นล้อคาร์บอนที่หล่อและคิดค้นทำมาจากมือ (hand-made carbon rim) ก็ไม่อยากจะคิดราคาหากต้องเทียบกับล้ออลูมิเนียม และแน่นอนว่า คาร์บอนส่วนใหญ่จะต้องเป็นงานหล่อด้วยมือ เพราะต้องใช้ความละเอียดความรู้และชำนาญของช่าง




แล้วคุณยังต้องการจักรยานเสือภูเขาคาร์บอนหรือไม่?

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์และส่วนประกอบอื่นๆ สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการขี่ได้ นั่นสำหรับมืออาชีพ แล้วแบบสมัครเล่นล่ะ มันเหมาะสมกับเราหรือไม่?

คุณต้องการความเร็วหรือ? จักรยานที่หนักจะทำให้คุณรู้สึกช้าลงเมื่อคุณกำลังขึ้นทางชัน เว้นแต่ว่าคุณเป็นนักปั่นแข่งประเภทที่บ้าพลัง neck-and-neck แบบหายใจรดต้นคอคนอื่น คุณก็อาจจะไม่เห็นความแตกต่างมากนัก

คุณจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นโดยการลดน้ำหนักของร่างกายและเพิ่มสมรรถภาพ การขับขี่จักรยานไม่กี่ปอนด์ไม่ได้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการไล่ล่าความเร็ว

ในส่วนของความแข็งแรงและความแข็ง (strength and stiffness) ยังเป็นเรื่องยากที่จะนำมาตัดสิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณขี่เส้นทาง enduro) ว่าจะต้องเป็นของที่มีราคาแพง จักรยานเสือภูเขาอลูมิเนียมระดับไฮเอนด์สามารถทำได้ดีกว่า หากเทียบกับคาร์บอนคุณภาพต่ำ ถึงแม้ว่าทั้งสองจะมีน้ำหนักและมีราคาใกล้เคียงกันก็ตาม

ถ้าจะถามความคิดเห็นของผม, ผู้ที่ไม่ได้สนใจจะเข้าแข่งขันชิงถ้วยรางวัลรายการใด ไม่ซีเรียสคิดมากที่จะต้องปั่นจักรยานน้ำหนักเบากว่าชาวบ้านเพียง 2 ก.ก ผมก็จะเลือกแบบกลางๆ ที่สามารถทำความเร็วได้ตามผมอยากจะทำ (ปั่นหนีหมา) หรือปล่อยไหลไปตามแรงเฉื่อยชื่นชมธรรมชาติข้างทาง อลูมิเนียมเกรดดีๆก็สุขใจ

แต่ถ้าสำหรับคุณ ถ้าคุณชอบความเร็ว มีเงินและยอมรับมันได้เวลาเกิดหักหรืออุบัติเหตุเสียหาย ก็ยอมรับเสียเถอะครับว่า คุณคือสายคาร์บอน

โฆษณา

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การเลือกซื้อ groupset สำหรับจักรยานเสือภูเขา ราคาเทียบกับประสิทธิภาพ

โฆษณา


Groupset สำหรับจักรยานเสือภูเขา คืออะไร?และมีอะไรบ้าง?


groupset สำหรับจักรยานเสือภูเขาเป็นชุดขับเคลื่อนนั่นเอง นับตั้งแต่จานหน้า, หัวกระโหลก, จานหลัง, โซ่, ตีนผี,

จานหน้า (crankset) จะมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ 

  • แบบ 3 จาน (Triple) เป็นจานหน้าที่เก่าแก่คลาสสิคที่สุดแล้ว โดยจะประกอบไปด้วย 3 chainrings เริ่มจากขนาดใหญ่ที่พบเห็นมากที่สุด คือ 42- หรือ 44 ฟัน ถัดมาเป็นแบบกลาง ขนาด 32 หรือ 34 และมีขนาดเล็กที่สุดภายในวงแหวนมักเป็นฟัน 22 หรือ 24 ฟัน จานชุดนี้จะเป็นชุดที่ใช้ตั้งค่าเกียร์ที่กว้างที่สุดและมีความซ้ำซ้อนอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของอัตราทดเกียร์ การเปลี่ยนเกียร์ตบเกียร์ จานหน้าจะต้องทำอย่างไรให้ถูกต้อง ทำให้โซ่ไม่บิดมากเกินไป (ตามที่เคยกล่าวไว้ในการใช้เกียร์ของจักรยานเสือภูเขานั่นเอง)
  • แบบ 2 จาน (Double) แบบนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับจักรยานเสือภูเขา เมื่อ SRAM และ Shimano นำเสนอระบบขับเคลื่อนแบบความเร็วสูง 10 สปีด ซึ่งมีความซับซ้อนน้อยกว่าแบบ 3 จาน วงแหวนขนาดเล็ก (22 ถึง 28 ฟัน) ในขณะที่ฟันเฟืองขนาดใหญ่มีเกียร์ที่เหมาะสำหรับการขี่ที่เร็วขึ้น (34- ถึง 36 ฟัน) จานแบบนี้จะพบมากในจักรยานเสือภูเขาระดับเริ่มต้นไปจนถึง high-end
  • แบบจานเดียว (Single) เป็นเทรนที่สำคัญที่สุดในระบบขับเคลื่อนสำหรับจักรยานเสือภูเขาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นการปรับปรุงไปสู่ก้าวใหม่ๆของระบบขับเคลื่อนที่หลากหลายกว้างขึ้นในรูปแบบของจานหน้าเพียงจานเดียว เรียกได้ว่า "1x" ได้รับความนิยมจากจักรยานเสือภูเขาประเภท downhill ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ช่วงเกียร์ขนาดใหญ่และความปลอดภัยของโซ่ (นั่นคือไม่มีโซ่หลุดออก) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก หลังจากการเปิดตัว XXAM ของ SRAM นำเสนอกรุ๊ป 1x11 และ 1x12 กลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับจักรยานเสือภูเขาระดับสูงถึงระดับกลาง

หัวกระโหลก (Bottom bracket)
เป็นท่อที่มีตลับอยู่ข้างในมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าจานหน้าเลยทีเดียวเพราะมันทำหน้าที่เป็นตัวหมุนจานหน้านั่นเอง 

จานหลัง (Cassettes)
จานหลังจะมีหลากหลายให้เลือกใช้ เช่นเดียวกับ จานหน้า (crankset) การเลือกใช้ จานหลัง มักถูกกำหนดโดยรูปแบบและราคาของการขี่จักรยาน จานหลังสำหรับจักรยานเสือภูเขาสามารถพบได้ 7 ถึง 12 สปีด โดยฟันเฟืองที่เล็กที่สุดและใหญ่ที่สุดเพื่อระบุช่วงรวมทั้งหมดเช่น 11-32t หรือ 10-50t

นอกเหนือจากจักรยานแบบ Downhill ซึ่งมักใช้จานหลังแบบช่วงแคบ ในขณะที่จักรยานเสือภูเขาทั่วไปจะใช้จานหลังที่มีช่วงกว้าง (เกียร์เยอะ สปีดเยอะ) เพื่อช่วยในการปีนเขาได้ง่ายขึ้น ช่วงที่พบมากที่สุด ในจักรยานที่มีจานหน้า (cranksets) สองหรือสามคือ 11 ถึง 34 หรือ 36 ฟัน 

ในขณะที่จานหน้าเดียว หรือ Single-ring drivetrains จะกว้างมากขึ้นโดยมี Drivetrains ของ SRAM's XX1,  X01 ความเร็ว 12 จังหวะ 10-50t  ในขณะที่ Shimano มีช่วง 11-46T ในกลุ่ม 1x11 SLX  และ XT และยังขนาด 10-51t ในกลุ่ม XTR

ตีนผี (Derailleurs)
Derailleurs เป็นส่วนประกอบที่เคลื่อนย้ายโซ่ระหว่างฟันเฟืองบนจานหน้าและจานหลัง แต่ละแบรนด์มีการออกแบบของตัวเอง แต่หลักการโดยทั่วไปจะเหมือนกัน เมื่อกด shifter ดึงหรือปล่อยสายเคเบิลซึ่งจะขยับ derailleur ทำให้โซ่หลุดออกและเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ในเกียร์อื่นๆ



ตัวสับเกียร์ (Shifters)
ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้คันโยกหรือสับเกียร์จะใช้ในการเปลี่ยนเกียร์ที่ derailleurs ของจักรยาน ซึ่งยี่ห้อ Shimano และ SRAM ใช้การออกแบบที่แตกต่างกัน และวิธีการเฉพาะของแต่ละตัว ในขณะที่กลไกแตกต่างกันทั้ง SRAM และ Shimano มี 'trigger shifters' ที่คล้ายกัน 

ถ้าแปลตามศัพท์อาจจะทำให้เข้าใจว่า 'trigger shifters' นี้เวลาจะสับเปลี่ยนเกียร์ต้องใช้นิ้วชี้เป็นตัวเปลี่ยน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เพราะกลับใช้นิ้วโป้งในการเปลี่ยน ซึ่งเหตุผลน่าจะเป็นเพราะมันทำได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า (แต่สำหรับ Road bike ก็ยังใช้สับไกแบบนิ้วชี้อยู่) 

SRAM มีระบบ 2 ระบบคือ Trigger และ Grip Shift ระบบทริกเกอร์เป็นเรื่องปกติมากขึ้น ฟังก์ชั่น Grip Shift นั้นจะใช้หมุนที่ปลอกแฮนด์แทน แต่ว่าตอนนี้มันไม่ค่อยมีให้ใช้สักเท่าไหร่ (เริ่มล้าสมัย) แต่ในจักรยานประเภท cross-country ก็ยังใช้มันอยู่ เนื่องจากระบบมีน้ำหนักเบาและช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนตลับได้อย่างรวดเร็ว

Shimano's Di2 อิเล็กทรอนิกส์ shifters ยังนำแหวนเข้าไปใส่ในเทคนิคนี้ของพวกเขาด้วยมันเป็น electronic switches มากกว่าจะเป็นแบบ mechanical components หรือแค่กลไก ซึ่งหมายความว่าคันโยก Di2 สามารถปรับแต่งและตั้งโปรแกรมให้ทำงานได้ในลักษณะที่ไม่สามารถใช้กับคันโยกทั่วไปได้ 

ตัวอย่างที่ดี คือเทคโนโลยี Synchroshift ของ Shimano ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้คันโยกเพียงคันเดียวเพื่อควบคุมตัวขับขี่ด้านหน้าและด้านหลังได้ ไม่ต้องมีตัวสับเกียร์ทั้ง 2 ข้าง

ทีนี้มาถึงเรื่องการเลือกซื้อ groupset สำหรับจักรยานเสือภูเขาบ้าง

ส่วนประกอบส่วนใหญ่ groupsets แตกต่างกันไปในแต่ละระดับราคา ซึ่งราคาแพงก็จะดีมากๆ แต่มันจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้แต่ของแพงๆ? เรามีหลักเกณฑ์ในการเลือกต่อไปนี้



น้ำหนัก (weight)

Keith Bontrager นักสร้าง components แบรนด์ Bontrager ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า "Strong Light Cheap ให้เลือกมา 2" 

ความได้เปรียบของจักรยานเสือภูเขาที่มีน้ำหนักที่เบา (Light) ก็คือ มันจะทำความเร็วได้ดีและเบรคได้เร็วกว่าจักรยานที่หนักกว่า และถ้าเรากำลังมองหาชุด drivetrains สำหรับจักรยานเสือภูเขา หรือแม้กระทั่งจักรยานที่สมบูรณ์แบบ การเลือกรุ่นที่มีน้ำหนักเบาก็จะทำให้ต้องเพิ่มเงินทุน

ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างตัวท้อปทั้ง 2 รุ่นของ Shimano คือ  XT และ XTR อยู่ที่ประมาณ 230 กรัม (ไม่รวมเบรคและหัวกระโหลก) ในขณะที่ความแตกต่างระหว่างเรือธง SRAM XX1 Eagle และ X01 Eagle น้ำหนักจะอยู่ที่  46g (ไม่รวมเบรคและหัวกระโหลก) 

ความแตกต่างของน้ำหนักเหล่านี้เป็นผลมาจากวัสดุราคาแพงและการขัดเกลาตกแต่ง หรือใช้เวลานานกว่าในกระบวนการผลิต ชิ้นส่วนที่มีราคาแพงกว่ามักใช้วัสดุ เช่น เส้นใยคาร์บอน, ไทเทเนียมอะลูมิเนียมน้ำหนักเบา และแบริ่งเซรามิคเพื่อให้ได้น้ำหนักต่ำสุด

ความทนทาน (Durability)

แน่นอนว่า หากเราต้องเงินเพิ่มขึ้นในส่วนของ Groupset เราก็ต้องคาดหวังว่าอุปกรณ์ต่างๆ พวกเทพๆเหล่านี้จะคงทนอยู่กับเราจนรู้สึกว่ามันคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไป 

ซึ่งความคงทนก็ต้องมีค่าใช้จ่าย แต่ประสบการณ์ของเราคือความทนทานยังมีให้เลือกแบบที่ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อรุ่น เรือธงระดับท้อปมาก กล่าวคือถ้าเป็น Shimano ก็จะอยู่ในระดับ XT แต่ถ้าเป็น SRAM ก็ใช้รุ่น XO1 

เรื่องความทนทานนั้น อาจจะกลับกันกับน้ำหนักเบา เพราะเราไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อความทนทาน และในขณะเดียวกัน ของน้ำหนักเบาจะใช้งานได้ไม่นาน (งงไหมครับ?) เพราะมันทำมาเบาบาง พอใช้งานมากๆไม่ถึงปี อาจจะสึกหรอไปมาก สำหรับคนที่ต้องแข่งขัน สิ่งเหล่านี้อาจจะต้องเปลี่ยนเมื่อแข่งไปแล้ว 2-3 ครั้งทีเดียว

อุปกรณ์ทนทานก็จะเป็นพวก จานหน้าและจานหลังนี่แหละ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่คงทนมากขึ้น ในขณะที่รุ่นที่มีราคาแพงกว่าจะทำด้วยอลูมิเนียมและไททาเนียมน้ำหนักเบา แต่ก็จะเปราะบางกว่า



ประสิทธิภาพ (Performance)

ก็คงจะหนีไม่พ้นของแพงก็ย่อมใช้ได้ดี เช่น ตีนผี จะให้การเปลี่ยนเกียร์ที่ราบรื่นแม่นยำและรวดเร็วขึ้นระหว่างขับขี่ หรือ electronic gears ที่เป็นมาตรฐานใหม่ ก็จะมีความแม่นยำและความเร็วสูงสุดด้วยการกดปุ่มง่ายๆ 

ตัวอย่างประสิทธิภาพอีกประการหนึ่งคือ การเพิ่มความแข็งของชิ้นส่วน จานหน้า เพื่อให้มีการถ่ายโอนกำลังที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากแป้นเหยียบไปยังล้อหลัง 

คุณลักษณะเพิ่มเติม (Additional features)
นอกเหนือจากการนำเสนอเฟืองพิเศษแล้วกลุ่มที่มีราคาแพงกว่าจะเสนอคุณลักษณะเพิ่มเติม ระบบกันสะเทือนตีนผีด้านหลัง (Clutch-equipped rear derailleurs) ที่มีชุดคลัทช์ด้วย เช่น Shadow Plus จาก Shimano หรือ Type-2 จาก SRAM เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีที่นำเสนอในกลุ่มระดับกลางและระดับไฮเอนด์

คลัทช์ช่วยให้โซ่ตึงซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในสภาพที่ขุรขระ หรือ การทำงานที่เงียบ และลดโอกาสที่โซ่จะหลุด แต่เรื่องคุณลักษณะเพิ่มเติมนี้บางครั้งบางอย่างก็เยอะเกินไปจนรู้สึกว่ามันเป็นฟังก์ชั่นที่งี่เง่าหรือเอาแต่จะให้ความสบายมากเกินไป เช่น การใส่ตัวเลขเกียร์มาให้ตรงตัวสับเกียร์ ซึ่งการมอบประสบการณ์ที่ดีให้นักปั่นนั้น ก็น่าจะเปลี่ยนเกียร์จากความรู้สึกของตัวเอง มากกว่าการก้มไปมองดูตัวเลขว่าควรเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนเกียร์ดี


โฆษณา