คำเตือนสำหรับผู้คัดลอก

เนื่องจากมีผู้คิดคัดลอก บทความบางส่วน หรือ บทความทั้งหมด จากเว็บบล็อก http://mountainbikedetail.blogspot.com/
ผู้ที่คัดลอกต้องแสดงการอ้างอิง หรือ ให้ลิงค์กลับมายัง เวบบล็อก ของเราหรือแสดงความจำนงที่จะนำบทความไปใช้ โดยแจ้งผ่านทางอีเมล์ หรือ ทางแฟนเพจ

มิฉะนั้น ทางเราจะแจ้งดำเนินคดี ฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธ์

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การเลือกซื้อ groupset สำหรับจักรยานเสือภูเขา ราคาเทียบกับประสิทธิภาพ

โฆษณา


Groupset สำหรับจักรยานเสือภูเขา คืออะไร?และมีอะไรบ้าง?


groupset สำหรับจักรยานเสือภูเขาเป็นชุดขับเคลื่อนนั่นเอง นับตั้งแต่จานหน้า, หัวกระโหลก, จานหลัง, โซ่, ตีนผี,

จานหน้า (crankset) จะมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ 

  • แบบ 3 จาน (Triple) เป็นจานหน้าที่เก่าแก่คลาสสิคที่สุดแล้ว โดยจะประกอบไปด้วย 3 chainrings เริ่มจากขนาดใหญ่ที่พบเห็นมากที่สุด คือ 42- หรือ 44 ฟัน ถัดมาเป็นแบบกลาง ขนาด 32 หรือ 34 และมีขนาดเล็กที่สุดภายในวงแหวนมักเป็นฟัน 22 หรือ 24 ฟัน จานชุดนี้จะเป็นชุดที่ใช้ตั้งค่าเกียร์ที่กว้างที่สุดและมีความซ้ำซ้อนอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของอัตราทดเกียร์ การเปลี่ยนเกียร์ตบเกียร์ จานหน้าจะต้องทำอย่างไรให้ถูกต้อง ทำให้โซ่ไม่บิดมากเกินไป (ตามที่เคยกล่าวไว้ในการใช้เกียร์ของจักรยานเสือภูเขานั่นเอง)
  • แบบ 2 จาน (Double) แบบนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับจักรยานเสือภูเขา เมื่อ SRAM และ Shimano นำเสนอระบบขับเคลื่อนแบบความเร็วสูง 10 สปีด ซึ่งมีความซับซ้อนน้อยกว่าแบบ 3 จาน วงแหวนขนาดเล็ก (22 ถึง 28 ฟัน) ในขณะที่ฟันเฟืองขนาดใหญ่มีเกียร์ที่เหมาะสำหรับการขี่ที่เร็วขึ้น (34- ถึง 36 ฟัน) จานแบบนี้จะพบมากในจักรยานเสือภูเขาระดับเริ่มต้นไปจนถึง high-end
  • แบบจานเดียว (Single) เป็นเทรนที่สำคัญที่สุดในระบบขับเคลื่อนสำหรับจักรยานเสือภูเขาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นการปรับปรุงไปสู่ก้าวใหม่ๆของระบบขับเคลื่อนที่หลากหลายกว้างขึ้นในรูปแบบของจานหน้าเพียงจานเดียว เรียกได้ว่า "1x" ได้รับความนิยมจากจักรยานเสือภูเขาประเภท downhill ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ช่วงเกียร์ขนาดใหญ่และความปลอดภัยของโซ่ (นั่นคือไม่มีโซ่หลุดออก) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก หลังจากการเปิดตัว XXAM ของ SRAM นำเสนอกรุ๊ป 1x11 และ 1x12 กลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับจักรยานเสือภูเขาระดับสูงถึงระดับกลาง

หัวกระโหลก (Bottom bracket)
เป็นท่อที่มีตลับอยู่ข้างในมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าจานหน้าเลยทีเดียวเพราะมันทำหน้าที่เป็นตัวหมุนจานหน้านั่นเอง 

จานหลัง (Cassettes)
จานหลังจะมีหลากหลายให้เลือกใช้ เช่นเดียวกับ จานหน้า (crankset) การเลือกใช้ จานหลัง มักถูกกำหนดโดยรูปแบบและราคาของการขี่จักรยาน จานหลังสำหรับจักรยานเสือภูเขาสามารถพบได้ 7 ถึง 12 สปีด โดยฟันเฟืองที่เล็กที่สุดและใหญ่ที่สุดเพื่อระบุช่วงรวมทั้งหมดเช่น 11-32t หรือ 10-50t

นอกเหนือจากจักรยานแบบ Downhill ซึ่งมักใช้จานหลังแบบช่วงแคบ ในขณะที่จักรยานเสือภูเขาทั่วไปจะใช้จานหลังที่มีช่วงกว้าง (เกียร์เยอะ สปีดเยอะ) เพื่อช่วยในการปีนเขาได้ง่ายขึ้น ช่วงที่พบมากที่สุด ในจักรยานที่มีจานหน้า (cranksets) สองหรือสามคือ 11 ถึง 34 หรือ 36 ฟัน 

ในขณะที่จานหน้าเดียว หรือ Single-ring drivetrains จะกว้างมากขึ้นโดยมี Drivetrains ของ SRAM's XX1,  X01 ความเร็ว 12 จังหวะ 10-50t  ในขณะที่ Shimano มีช่วง 11-46T ในกลุ่ม 1x11 SLX  และ XT และยังขนาด 10-51t ในกลุ่ม XTR

ตีนผี (Derailleurs)
Derailleurs เป็นส่วนประกอบที่เคลื่อนย้ายโซ่ระหว่างฟันเฟืองบนจานหน้าและจานหลัง แต่ละแบรนด์มีการออกแบบของตัวเอง แต่หลักการโดยทั่วไปจะเหมือนกัน เมื่อกด shifter ดึงหรือปล่อยสายเคเบิลซึ่งจะขยับ derailleur ทำให้โซ่หลุดออกและเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ในเกียร์อื่นๆ



ตัวสับเกียร์ (Shifters)
ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้คันโยกหรือสับเกียร์จะใช้ในการเปลี่ยนเกียร์ที่ derailleurs ของจักรยาน ซึ่งยี่ห้อ Shimano และ SRAM ใช้การออกแบบที่แตกต่างกัน และวิธีการเฉพาะของแต่ละตัว ในขณะที่กลไกแตกต่างกันทั้ง SRAM และ Shimano มี 'trigger shifters' ที่คล้ายกัน 

ถ้าแปลตามศัพท์อาจจะทำให้เข้าใจว่า 'trigger shifters' นี้เวลาจะสับเปลี่ยนเกียร์ต้องใช้นิ้วชี้เป็นตัวเปลี่ยน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เพราะกลับใช้นิ้วโป้งในการเปลี่ยน ซึ่งเหตุผลน่าจะเป็นเพราะมันทำได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า (แต่สำหรับ Road bike ก็ยังใช้สับไกแบบนิ้วชี้อยู่) 

SRAM มีระบบ 2 ระบบคือ Trigger และ Grip Shift ระบบทริกเกอร์เป็นเรื่องปกติมากขึ้น ฟังก์ชั่น Grip Shift นั้นจะใช้หมุนที่ปลอกแฮนด์แทน แต่ว่าตอนนี้มันไม่ค่อยมีให้ใช้สักเท่าไหร่ (เริ่มล้าสมัย) แต่ในจักรยานประเภท cross-country ก็ยังใช้มันอยู่ เนื่องจากระบบมีน้ำหนักเบาและช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนตลับได้อย่างรวดเร็ว

Shimano's Di2 อิเล็กทรอนิกส์ shifters ยังนำแหวนเข้าไปใส่ในเทคนิคนี้ของพวกเขาด้วยมันเป็น electronic switches มากกว่าจะเป็นแบบ mechanical components หรือแค่กลไก ซึ่งหมายความว่าคันโยก Di2 สามารถปรับแต่งและตั้งโปรแกรมให้ทำงานได้ในลักษณะที่ไม่สามารถใช้กับคันโยกทั่วไปได้ 

ตัวอย่างที่ดี คือเทคโนโลยี Synchroshift ของ Shimano ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้คันโยกเพียงคันเดียวเพื่อควบคุมตัวขับขี่ด้านหน้าและด้านหลังได้ ไม่ต้องมีตัวสับเกียร์ทั้ง 2 ข้าง

ทีนี้มาถึงเรื่องการเลือกซื้อ groupset สำหรับจักรยานเสือภูเขาบ้าง

ส่วนประกอบส่วนใหญ่ groupsets แตกต่างกันไปในแต่ละระดับราคา ซึ่งราคาแพงก็จะดีมากๆ แต่มันจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้แต่ของแพงๆ? เรามีหลักเกณฑ์ในการเลือกต่อไปนี้



น้ำหนัก (weight)

Keith Bontrager นักสร้าง components แบรนด์ Bontrager ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า "Strong Light Cheap ให้เลือกมา 2" 

ความได้เปรียบของจักรยานเสือภูเขาที่มีน้ำหนักที่เบา (Light) ก็คือ มันจะทำความเร็วได้ดีและเบรคได้เร็วกว่าจักรยานที่หนักกว่า และถ้าเรากำลังมองหาชุด drivetrains สำหรับจักรยานเสือภูเขา หรือแม้กระทั่งจักรยานที่สมบูรณ์แบบ การเลือกรุ่นที่มีน้ำหนักเบาก็จะทำให้ต้องเพิ่มเงินทุน

ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างตัวท้อปทั้ง 2 รุ่นของ Shimano คือ  XT และ XTR อยู่ที่ประมาณ 230 กรัม (ไม่รวมเบรคและหัวกระโหลก) ในขณะที่ความแตกต่างระหว่างเรือธง SRAM XX1 Eagle และ X01 Eagle น้ำหนักจะอยู่ที่  46g (ไม่รวมเบรคและหัวกระโหลก) 

ความแตกต่างของน้ำหนักเหล่านี้เป็นผลมาจากวัสดุราคาแพงและการขัดเกลาตกแต่ง หรือใช้เวลานานกว่าในกระบวนการผลิต ชิ้นส่วนที่มีราคาแพงกว่ามักใช้วัสดุ เช่น เส้นใยคาร์บอน, ไทเทเนียมอะลูมิเนียมน้ำหนักเบา และแบริ่งเซรามิคเพื่อให้ได้น้ำหนักต่ำสุด

ความทนทาน (Durability)

แน่นอนว่า หากเราต้องเงินเพิ่มขึ้นในส่วนของ Groupset เราก็ต้องคาดหวังว่าอุปกรณ์ต่างๆ พวกเทพๆเหล่านี้จะคงทนอยู่กับเราจนรู้สึกว่ามันคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไป 

ซึ่งความคงทนก็ต้องมีค่าใช้จ่าย แต่ประสบการณ์ของเราคือความทนทานยังมีให้เลือกแบบที่ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อรุ่น เรือธงระดับท้อปมาก กล่าวคือถ้าเป็น Shimano ก็จะอยู่ในระดับ XT แต่ถ้าเป็น SRAM ก็ใช้รุ่น XO1 

เรื่องความทนทานนั้น อาจจะกลับกันกับน้ำหนักเบา เพราะเราไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อความทนทาน และในขณะเดียวกัน ของน้ำหนักเบาจะใช้งานได้ไม่นาน (งงไหมครับ?) เพราะมันทำมาเบาบาง พอใช้งานมากๆไม่ถึงปี อาจจะสึกหรอไปมาก สำหรับคนที่ต้องแข่งขัน สิ่งเหล่านี้อาจจะต้องเปลี่ยนเมื่อแข่งไปแล้ว 2-3 ครั้งทีเดียว

อุปกรณ์ทนทานก็จะเป็นพวก จานหน้าและจานหลังนี่แหละ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่คงทนมากขึ้น ในขณะที่รุ่นที่มีราคาแพงกว่าจะทำด้วยอลูมิเนียมและไททาเนียมน้ำหนักเบา แต่ก็จะเปราะบางกว่า



ประสิทธิภาพ (Performance)

ก็คงจะหนีไม่พ้นของแพงก็ย่อมใช้ได้ดี เช่น ตีนผี จะให้การเปลี่ยนเกียร์ที่ราบรื่นแม่นยำและรวดเร็วขึ้นระหว่างขับขี่ หรือ electronic gears ที่เป็นมาตรฐานใหม่ ก็จะมีความแม่นยำและความเร็วสูงสุดด้วยการกดปุ่มง่ายๆ 

ตัวอย่างประสิทธิภาพอีกประการหนึ่งคือ การเพิ่มความแข็งของชิ้นส่วน จานหน้า เพื่อให้มีการถ่ายโอนกำลังที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากแป้นเหยียบไปยังล้อหลัง 

คุณลักษณะเพิ่มเติม (Additional features)
นอกเหนือจากการนำเสนอเฟืองพิเศษแล้วกลุ่มที่มีราคาแพงกว่าจะเสนอคุณลักษณะเพิ่มเติม ระบบกันสะเทือนตีนผีด้านหลัง (Clutch-equipped rear derailleurs) ที่มีชุดคลัทช์ด้วย เช่น Shadow Plus จาก Shimano หรือ Type-2 จาก SRAM เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีที่นำเสนอในกลุ่มระดับกลางและระดับไฮเอนด์

คลัทช์ช่วยให้โซ่ตึงซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในสภาพที่ขุรขระ หรือ การทำงานที่เงียบ และลดโอกาสที่โซ่จะหลุด แต่เรื่องคุณลักษณะเพิ่มเติมนี้บางครั้งบางอย่างก็เยอะเกินไปจนรู้สึกว่ามันเป็นฟังก์ชั่นที่งี่เง่าหรือเอาแต่จะให้ความสบายมากเกินไป เช่น การใส่ตัวเลขเกียร์มาให้ตรงตัวสับเกียร์ ซึ่งการมอบประสบการณ์ที่ดีให้นักปั่นนั้น ก็น่าจะเปลี่ยนเกียร์จากความรู้สึกของตัวเอง มากกว่าการก้มไปมองดูตัวเลขว่าควรเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนเกียร์ดี


โฆษณา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น