คำเตือนสำหรับผู้คัดลอก

เนื่องจากมีผู้คิดคัดลอก บทความบางส่วน หรือ บทความทั้งหมด จากเว็บบล็อก http://mountainbikedetail.blogspot.com/
ผู้ที่คัดลอกต้องแสดงการอ้างอิง หรือ ให้ลิงค์กลับมายัง เวบบล็อก ของเราหรือแสดงความจำนงที่จะนำบทความไปใช้ โดยแจ้งผ่านทางอีเมล์ หรือ ทางแฟนเพจ

มิฉะนั้น ทางเราจะแจ้งดำเนินคดี ฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธ์

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Carbon vs Aluminium mountain bike แบบไหน ถามใจคุณดู?

โฆษณา


เราจำเป็นต้องมีจักรยานเสือภูเขาคาร์บอนหรือไม่?

คาร์บอน Bike

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคาร์บอนเฟรมและชิ้นส่วนจักรยานที่เป็นคาร์บอนอื่นๆ มีความสำคัญอย่างมากในการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาที่แข่งขันกัน แต่สำหรับนักปั่นมือสมัครเล่นหรือไม่ได้คิดจะเข้าแข่งขันในรายการใดๆเลย อย่างผมหรือคุณ ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ลองมาดูข้อดีและข้อเสียของคาร์บอนกับอลูมิเนียมกันดีกว่า

Carbon vs Aluminium mountain bike

น้ำหนัก (weight)
สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนที่สุดและเป็นสิ่งที่ดีสำหรับ carbon mountain bikes นั่นก็คือ มันมีน้ำหนักเบา จริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นความลับอะไรมากมาย เพียงแต่เป็นสมัยนิยมเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบดีว่า เฟรมคาร์บอนก็ต้องเบากว่าเฟรมอลูมิเนียม 


อลูมิเนียมเฟรม

จริงๆแล้ว คุณสามารถซื้อจักรยานเสือภูเขาอลูมิเนียมที่มีคุณภาพซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าแบบคาร์บอน ถึงแม้ว่าหากเปรียบเทียบกันจริงๆแล้ว ถ้างานคาร์บอนที่มีฝีมือมีคุณภาพดีๆก็ต้องให้งานที่มีน้ำหนักเบากว่าอุปกรณ์อลูมิเนียมทั้งหลาย (งงไหม? กล่าวคือเราจะซื้อจักรยานอลูมิเนียมที่น้ำหนักเบาได้ แต่ก็ต้องระดับแพงสูง เมื่อเปรียบกับงานคาร์บอนทั่วไป แต่สำหรับเกรดคาร์บอนดีคุณภาพดีกว่านี้ ก็ย่อมจะดีกว่าอยู่แล้ว)

ข้อดีของการขี่จักรยานน้ำหนักเบา คือ มันสามารถทำความเร็วได้ดีกว่าจักรยานแบบอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่เรากำลังขึ้นทางชันหรือขึ้นเขา (uphills) นั่นเอง จักรยานเบายังง่ายต่อการเร่งและเปลี่ยน lines dynamic ได้ดีกว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ผู้ขับขี่จักรยานแบบ cross-country ยินดีที่จะจ่ายไม่ว่าจะแพงขนาดไหน

Aluminium mountain bike 


แล้วจักรยานเสือภูเขาแบบคาร์บอนมันดีกว่าจริงๆหรือ? 

อืม...มันมีฟิสิกส์ที่เรียบง่ายบอกเราว่าจักรยานที่หนักกว่าจะผลักดันให้คุณลง (down) ไปได้ดีกว่า ซึ่งในที่ที่มีความต้านทานทางอากาศ หมายความว่าคุณไปได้เร็วขึ้น นอกจากนี้จักรยานที่เบาเกินไปอาจกลายเป็นสิ่งที่ยากเย็นที่จะควบคุมมันให้อยู่ได้ในภูมิประเทศที่ขุรขระ

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่คุณจะเห็นผู้ขับขี่ enduro และ downhill จำนวนมาก มั่นใจและนั่งอย่างองอาจบนจักรยานเสือภูเขาเฟรมอลูมิเนียมหรืออัลลอยด์ของเขาหรือเธอ

ความแข็ง (Stiffness)

คุณภาพของเส้นใยคาร์บอนมีความแข็งแรงมากกว่าอลูมิเนียมและเหล็กกล้าที่มีน้ำหนักเท่ากันถึง 2 ถึง 5 เท่า มันจึงมีความหมายที่สำคัญสำหรับนักปั่นแบบ cross-country ที่น้ำหนักและความแข็งจะส่งผลให้มีความเร็วควบคุมได้ดี ทั้งยังตอบสนองต่อการปั่นได้ดี

แต่ความแข็งก็ไม่ได้หมายความว่าดีนักแม้แต่สำหรับผู้ขับขี่ที่เข้าแข่งขันกัน ผู้ขับขี่ enduro / trail และ downhill จำนวนมากเลือกเฟรมอัลลอยด์เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและการอะลุ่มอะล่วยต่อสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นประโยชน์ต่อรูปแบบการขี่ของพวกเขา

ความแข็งแรงและความทนทาน (Strength and Durability)

ความแข็งแรงของคาร์บอนไฟเบอร์และอลูมิเนียม เป็นคำถามที่ยุ่งยาก? มันทำให้หวนถึงวันที่ได้เห็นจักรยานเสือภูเขาเฟรมคาร์บอนแตกซึ่งบางคนอาจจะมองไปที่ความไม่คงทนของมัน มันจึงทำให้ทุกคนในวงการจักรยานรู้ดีว่าเฟรมคาร์บอน เป็นอะไรที่แตกหักเสียหายได้ง่าย (เอาไปเปรียบกับความแข็ง Stiffness ไม่ได้นะครับ เหมือนเราเอาช็อคโกแลตไปแช่ช่องฟรีส มันจะแข็งแบบนั้น ไม่ใช่ความแข็งแรงเพราะมันยังเปราะบางหักได้อยู่ดี)



ดังนั้นคาร์บอนจึงเป็นสูตรการผสมของวิศวกรการผลิตอีกทีหนึ่งว่าจะต้องผสมสารอะไรลงไปบ้างเพื่อให้มันแข็งแรง ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใช้สำหรับการแข่งแบบ cross-country กัน

ด้วยตัวมันเองแล้วคาร์บอนจะแตกและเปราะมาก แต่ด้วยการขึ้นรูปวัสดุที่เรียกว่าอีพ็อกซี่เรซิน บริษัทชั้นนำสามารถเพิ่มความเหนียวและความทนทานเพื่อให้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์มีความแข็งแรงมากขึ้น ทุกวันนี้ท่อบนของจักรยานเสือภูเขาแบบ enduro และ trail mountain bikes มีขนาดที่หนาและสามารถรองรับกับแรงกระแทก ขณะที่ยังคงมีน้ำหนักเบามาก

อย่างไรก็ตามทั้งสองวัสดุที่แตกต่างกันมีวิธีการที่แตกต่างกันมากของความล้มเหลว คาร์บอนจะแตกและเปราะหัก ในขณะที่อลูมิเนียมจะบุ๋มลงในครั้งแรกจากนั้นมันก็จะงอ และพังในที่สุด

พึงจำไว้ว่า "คาร์บอนนั้นเวลามันเสียหาย มันจะเกิดขึ้นทันทีและไม่มีการเตือนล่วงหน้า เหมือนกับอลูมิเนียม เพราะอลูมิเนียมนั้น มันจะบุ๋มและจากนั้นจะงอ ซึ่งเราจะเห็นได้และรู้ก่อนที่มันจะพัง"




อีกทฤษฎีหนึ่งบอกเราว่าในขณะที่เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์จะมีอายุการใช้งานไม่สิ้นสุด, อลูมิเนียมมักจะมีอายุการเก็บรักษาเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าวัสดุนี้จะเสื่อมสภาพไปตามเวลา วันนี้หลายบริษัทรับประกันอายุการใช้งานในเฟรมอัลลอยซึ่งอาจหมายความว่าความกังวลเหล่านี้หายไปนานแล้ว

สรุปว่า การที่คุณได้เห็นจักรยานเสือภูเขาหรือ road racing เกิดความหักเสียหายนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นมาจากเฟรมคาร์บอน ในทางกลับกันคุณจะได้เห็นความเสียหายเหล่านี้จากเฟรมอลูมิเนียมน้อยมาก

ราคา (Price)

แม้ว่าในขณะนี้เฟรมคาร์บอนจะมีราคาที่ถูกลงกว่าสมัยก่อนแล้ว แต่มันก็ยังมีราคาที่สูงกว่าจักรยานเสือภูเขาที่ทำจากอลูมิเนียมอยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงคุณภาพและปริมาณ ไม่ใช่แค่กรอบที่เรากำลังพูดถึงอยู่ที่นี่ มันยังมีจานหน้า, บาร์, เบรค, ผ้าเบรค, ล้อ และ สตีม ซึ่งเป็นตัวตัดสินใจในราคาที่แตกต่างกัน

เฟรมจักรยานเสือภูเขาที่ทำจากคาร์บอนมีราคาแพงกว่าอลูมิเนียม ยกตัวอย่างเช่น ล้อคาร์บอนจะแพงกว่าล้ออลูมิเนียมถึง 7 เท่า!! ยิ่งเป็นล้อคาร์บอนที่หล่อและคิดค้นทำมาจากมือ (hand-made carbon rim) ก็ไม่อยากจะคิดราคาหากต้องเทียบกับล้ออลูมิเนียม และแน่นอนว่า คาร์บอนส่วนใหญ่จะต้องเป็นงานหล่อด้วยมือ เพราะต้องใช้ความละเอียดความรู้และชำนาญของช่าง




แล้วคุณยังต้องการจักรยานเสือภูเขาคาร์บอนหรือไม่?

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์และส่วนประกอบอื่นๆ สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการขี่ได้ นั่นสำหรับมืออาชีพ แล้วแบบสมัครเล่นล่ะ มันเหมาะสมกับเราหรือไม่?

คุณต้องการความเร็วหรือ? จักรยานที่หนักจะทำให้คุณรู้สึกช้าลงเมื่อคุณกำลังขึ้นทางชัน เว้นแต่ว่าคุณเป็นนักปั่นแข่งประเภทที่บ้าพลัง neck-and-neck แบบหายใจรดต้นคอคนอื่น คุณก็อาจจะไม่เห็นความแตกต่างมากนัก

คุณจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นโดยการลดน้ำหนักของร่างกายและเพิ่มสมรรถภาพ การขับขี่จักรยานไม่กี่ปอนด์ไม่ได้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการไล่ล่าความเร็ว

ในส่วนของความแข็งแรงและความแข็ง (strength and stiffness) ยังเป็นเรื่องยากที่จะนำมาตัดสิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณขี่เส้นทาง enduro) ว่าจะต้องเป็นของที่มีราคาแพง จักรยานเสือภูเขาอลูมิเนียมระดับไฮเอนด์สามารถทำได้ดีกว่า หากเทียบกับคาร์บอนคุณภาพต่ำ ถึงแม้ว่าทั้งสองจะมีน้ำหนักและมีราคาใกล้เคียงกันก็ตาม

ถ้าจะถามความคิดเห็นของผม, ผู้ที่ไม่ได้สนใจจะเข้าแข่งขันชิงถ้วยรางวัลรายการใด ไม่ซีเรียสคิดมากที่จะต้องปั่นจักรยานน้ำหนักเบากว่าชาวบ้านเพียง 2 ก.ก ผมก็จะเลือกแบบกลางๆ ที่สามารถทำความเร็วได้ตามผมอยากจะทำ (ปั่นหนีหมา) หรือปล่อยไหลไปตามแรงเฉื่อยชื่นชมธรรมชาติข้างทาง อลูมิเนียมเกรดดีๆก็สุขใจ

แต่ถ้าสำหรับคุณ ถ้าคุณชอบความเร็ว มีเงินและยอมรับมันได้เวลาเกิดหักหรืออุบัติเหตุเสียหาย ก็ยอมรับเสียเถอะครับว่า คุณคือสายคาร์บอน

โฆษณา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น