คำเตือนสำหรับผู้คัดลอก

เนื่องจากมีผู้คิดคัดลอก บทความบางส่วน หรือ บทความทั้งหมด จากเว็บบล็อก http://mountainbikedetail.blogspot.com/
ผู้ที่คัดลอกต้องแสดงการอ้างอิง หรือ ให้ลิงค์กลับมายัง เวบบล็อก ของเราหรือแสดงความจำนงที่จะนำบทความไปใช้ โดยแจ้งผ่านทางอีเมล์ หรือ ทางแฟนเพจ

มิฉะนั้น ทางเราจะแจ้งดำเนินคดี ฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธ์

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มือใหม่กับการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขา

โฆษณา

ความสับสนกับการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาของเมือใหม่



การเริ่มต้นอะไรใหม่ๆมักจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสมอ กว่าเราจะได้จักรยานเสือภูเขาสักคัน ต้องหาข้อมูลมากมาย ต้องเลือกขนาดของรถให้ตรงกับร่างกายของเรา วัตถุประสงค์ในการซื้อจักรยานคืออะไร เพื่อออกการกำลังกาย หรือการแข่งขัน เพราะว่าการเลือกซื้อจักรยานจะต้องแยกออกไปอีกว่า รถสำหรับอะไร? เพราะสำหรับออกกำลังกาย ก็จะมีราคาไม่แพงมาก ศักยภาพไม่สูงอย่างรถสำหรับแข่ง เมื่อได้จักรยานมาแล้ว ก็มาศึกษากันเรื่องการฝึกปั่นจักรยาน

มันดูเหมือนง่ายๆกับการบอกใครๆว่า ไปปั่นจักรยาน แต่สำหรับมือใหม่อย่างเราแล้วช่างเป็นอะไรที่สับสน และต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ผมเองซื้อจักรยานเสือภูเขาเพื่อต้องการออกกำลังกาย เอาแบบสบายๆไม่หักโหม ผมตั้งงบไว้ประมาณ 17,000 และมีรถในดวงใจไว้แล้ว แต่สำหรับมือใหม่อย่างผม เมื่อได้อ่านเรื่องเกียร์รถแล้ว ผมเริ่มจะสับสน และมีคำถามมากมาย การไปเลือกซื้อก็ไม่กล้าที่จะลองปั่น เพราะปั่นไม่เป็น กลัวไปทำจักรยานของเค้าพังอีก (ผมคิดว่ามือใหม่จะต้องมีความคิดแบบนี้เกือบทุกคน)

หลังจากการศึกษาหาความรู้มาพักใหญ่ ผมก็เริ่มจะพอรู้เรื่อง และเข้าใจมากขึ้น บางครั้งการอ่านหรือศึกษาจากทฤษฏีมากไป ขาดการลองปฏิบัติก็จะทำให้เกิดจินตนาการไปต่างๆนานา ดังนั้นเลิกสับสนในใจ ซื้อจักรยานและมาลองให้มันรู้เรื่องไปเลยครับ สุดท้ายมันไม่ได้ยากอะไรเลย ไม่ใช่อย่างที่เรากลัวเลย

มือใหม่จะลองใช้เกียร์อย่างไรในการปั่นเสือภูเขาครั้งแรก

ก่อนอื่นมือใหม่บางคนอาจจะสับสน กับคำว่า “เกียร์หนัก” กับ “เกียร์เบา” ผมขออธิบายแบบนี้ครับ

  • เกียร์หนักคือ เมื่อเราเข้าเกียร์แล้ว เราจะต้องออกแรงปั่นมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นเกียร์สูงๆครับ
  • เกียร์เบาคือ เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้ว ปั่นสบายขึ้น (ต้องเทียบกับความรู้สึกเอานะครับว่า หนัก กลาง เบา ของเราเป็นอย่างไร ลองฝึกไปเรื่อยๆจะรู้เอง)


จานหน้า ชุดเฟืองของเสือภูเขา
ชุดจานหน้า

การใช้เกียร์ด้านซ้ายมือ หรือ จานหน้า จะมี 3 เฟืองเท่านั้นครับ ไม่สับสน มีเล็ก กลาง ใหญ่


  • ใช้เฟืองใหญ่ ตอนลงเขา หรือทางลาดลง อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการต้องการความเร็วนะครับ แต่ถ้าเราใช้จานหน้าเป็นเฟืองใหญ่ตอนลงเขา มันจะเซฟขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคมพอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้
  • ตอนขึ้นเขา ใช้เฟืองกลางครับ แต่ดูแรงของเราก่อนนะครับว่า ไหวไหม ถ้าไม่ไหวจริง เปลี่ยนมาเป็นเฟืองเล็กครับ
  • ถ้าเป็นทางเรียบ ใช้เฟืองกลางหรือใหญ่ก็ได้ครับ ตามกำลังของเรา แต่จริงๆแล้ว เฟืองกลางเหมาะสุดแล้วครับ

จานหลังเสือภูเขา ชุดเฟืองเกียร์
ชุดจานหลัง

ตัวเลขของเกียร์ของเสือภูเขา (สำหรับด้านขวามือ หรือจานหลัง)


  • เฟืองเล็ก คือเกียร์สูง จะเป็นเกียร์ที่เราใช้ความเร็วครับ เช่น ทางเรียบ เปรียบกับรถยนต์เอาก็แล้วกันนะครับถ้าต้องการความเร็วก็ใช้เกียร์สูง สำหรับจักรยาน เกียร์สูง = เกียร์หนัก ต้องออกแรงปั่นมากขึ้นด้วยครับ
  • เฟืองใหญ่ คือ เกียร์ต่ำ จะใช้ตอนเราออกตัว หรือ ตอนปั่นขึ้นทางที่ลาดชัน หรือขึ้นเขา แล้วก็ตอนที่จอดรถไว้เฉยๆ จะต้องเข้าเกียร์ไว้ครับ ดังนั้นสรุปว่า เกียร์ต่ำ = เกียร์เบา จะใช้แรงน้อย

การเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขา
รูปการปรับเกียร์เสือภูเขาที่ถูกต้องสำหรับมือใหม่

มือใหม่ควรใช้เกียร์อะไร? ในตอนฝึกครั้งแรก


  • ผมขอแนะนำว่า ให้คุณปรับเกียร์ข้างซ้ายไปที่เกียร์ 2 หรือ ที่เราๆเรียกกันว่า จานหน้า (เพราะ เกียร์ 1 เราไม่ค่อยจะรู้สึกมาก มันเบาไปครับ เริ่มที่2 จะรู้สึกดีกว่า) หรือให้ปรับใช้จานกลาง เป็นหลักเมื่อปั่นจักรยาน แล้วไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันอีกแล้วครับ (ในระยะที่ฝึกปั่นใหม่ๆนะครับ)
  • ส่วนการเปลี่ยนปรับเกียร์ ให้เราใช้เกียร์ขวามือในการปรับครับ ฝึกใหม่ๆผมแนะนำให้ปรับไปที่ เกียร์ 3 ครับ พอหลังจากนั้นลองปรับไปที่เกียร์ 4 ฝึกไปอย่างนี้ก่อนสักระยะ

หลังจากนี้ ถ้ากำลังของคุณอยู่ตัวแล้ว จะลองปรับไปที่เลข 5, 6,7 ตามแต่ใจของคุณต้องการ ให้ดูรูปข้างบนประกอบเลยครับ การปรับเกียร์ที่ถูกต้อง ส่วนรูปข้างล่างคือตัวอย่างการเบนแนวโซ่มากเกินไป

การเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขา ที่ไม่ควรใช้
การเปลี่ยนเกียร์ที่ไม่ควร นอกจากการจอดรถไว้เฉยๆ

ข้อควรระวังในการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาสำหรับมือใหม่


  • มือซ้ายนะครับ เราจะไม่ปรับจานหน้าไปเป็นจานเล็ก (เกียร์1) แล้วปรับจานหลัง ขวามือเราไปเป็น จานเล็ก (เกียร์9)
  • และเราจะไม่ปรับจานหน้า ไปเป็นจานใหญ่ (เกียร์ 3) พร้อมกับเปลี่ยนจานหลัง ไปเป็นเฟืองใหญ่ (เกียร์ 1)

เพราะการกระทำแบบนี้จะทำให้แนวโซ่เบนมากที่สุด จะส่งผลเสียต่อระบบเกียร์ ส่งผลให้โซ่ขาดได้ นอกจากนี้ตัวตีนผีเองจะถูกโซ่ดึงจนกาง ออกเกือบจะเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้าความยาวของโซ่สั้นเกินไปกว่าที่ควรขาตีนผีอาจจะถูกบิดจนโก่งงอ

หวังว่าคุณผู้อ่านจะไม่งงนะครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ลองปรับ หรือลองปั่นดูครับจะได้รู้และเข้าใจมากขึ้น ไม่ยากจนเกินไป และต้องใช้การฝึกฝนครับ แล้วจะสนุกมาก การปั่นจักรยานเสือภูเขาเป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ และได้กำไรในการพักผ่อนไปในตัวได้ครับ


โฆษณา advertise

21 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1 พฤษภาคม 2556 เวลา 15:28

    เป็นสิ่งที่ดีสำหรับมือใหม่อย่างผมเลยครับ...ขอบคุณครับ...

    ตอบลบ
  2. เวลาจอดควรปรับเกียร์ไว้อย่างไรครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จอดแบบไขว้กันครับ เหมือนรูปที่แสดงไว้
      1-9 กับ 3-1 ครับ รูปภาพ zone 1 กับ 3 ครับ (ถ้างง ก็คือข้อควรระวังในการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาสำหรับมือใหม่ นั้นแหละครับ คือเพราะมันเหมาะสำหรับจอดไว้เฉยๆ ครับ งงไหมครับ)

      ถ้าจะออกตัวก็ค่อยเปลี่ยน จานหน้าเป็น จาน 2 จานหลัง 3 หรือ 4 ก็ไ้ด้ครับ

      ลบ
  3. ให้ความรู้ผมได้มากเลยครับบบ

    ตอบลบ
  4. เวลาจอดจะจอดแบบข้อห้าม แต่พออกตัว แล้ว ปรับจานหน้าที่ 2 ไม่ได้ ทำให้โซ่หลุดออกจากจาน มัยเพราะรัยคะ เลยต้องตั้งไว้ที่ต้องห้ามอ่ะ ค่ะ เพราะอะไรคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลองปรับก่อนจะออกตัวดูนะครับ เพราะถ้ามาปรับตอนออกตัวไปแล้ว อาจจะทำให้โซ่หลุดได้ เพราะตั้งที่ระบบห้ามอยู่

      ลบ
    2. อ๋อ..ผมลืมบอกไปนิดนึงครับ คือลองเปลี่ยนที่เฟื่องหลังก่อน ปรับไปที่จาน 3 หรือ 4 ก่อนครับ เพื่อคลายความตึงของโซ่ แล้วค่อยมาปรับที่จานหน้าไปจานที่ 2

      ลองดูนะครับ ได้ผลอย่างไรก็แจ้งด้วยนะครับ เผื่อคนอื่นที่เจอปัญหาจะได้รู้วิธีแก้ครับ

      ลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ1 ตุลาคม 2556 เวลา 14:27

    ดีมากครับสำหรับความรู้ให้มือใหม่ได้ศึกษาเพื่อการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ20 ตุลาคม 2556 เวลา 21:05

    สุดยอดครับความรู้สำหรับมือใหม่ ที่หันมาใช้จรักยานออกกำลังกาย

    ตอบลบ
  7. รบกวนสอบถามเกี่ยวกับกับคันสับ/เปลี่ยนเกียร์ ซ้ายขวา โดยปกติเราใช้นิ้วโป้งกดเพื่อเพิ่มเลขเกียร์ แต่ของผมมีอยู่ข้างหนึ่งใช้นิ้วโป้งกดแล้วจะกลายเป็นลดเลขเกียร์ แบบนี้แก้ไขได้หรือไม่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้องลองเข้าร้านดูครับ อาจจะเกิดจากสายเกียร์หย่อนหรือตึงมากเกินไป

      หากไม่อยากเข้าร้านก็ลองวิธีนี้ดูครับ คือ หมุนตัวเร่งความตึงที่ตีนผีหรือ Shifter เข้าหรือออก จนกระทั่งทำงานได้ดี

      อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากที่นี้ครับ เผื่อจะช่วยได้

      http://www.igetugot.com/topics/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82-29-1-1.html

      ลบ
    2. จานหน้ากดเลขเพิ่ม จานหลังกดเลขลด

      ลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2557 เวลา 13:29

    เยี่ยมมากมายครับ

    Hardrock

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ6 เมษายน 2557 เวลา 17:15

    ขอบคุณครับ สำหรับ ความรู้ดีๆ ผมมือใหม่เพิ่งจะเริ่มหัดขี่ ได้ความรู้มากๆครับ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ28 เมษายน 2557 เวลา 23:24

    Thanks so much

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณครับ มือใหม่ จะลองทำดูครับ

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ25 กันยายน 2557 เวลา 11:39

    เป็นความรู้ที่ดีมากสำหรับมือใหม่อย่างผมครับ
    ขอถามนิดนึงครับ ว่าเวลาเราจอด ทำไมต้องปรับไปที่เกียร์ต้องห้าม(แนวโซ่ไค้วเบน) แล้วเวลาจอดใช้จานหน้ากลางและจานหลังใช้เกียร์3-4 ได้ไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มันเป็นการตั้งไว้สำหรับจอดรถน่ะครับ เหมือนกับเวลาเราจอดรถยนต์ เราจะต้องดึงเบรดมือ หรือรถสมัยก่อนจะเข้าเกียร์ไปที่เกียร์ 1 แล้วจอด เพื่อป้องกันรถไหล..(ผมเป็นคนโบราณครับ เคยจอดรถแบบใส่เกียร์ 1 ไว้ เป็นเกียร์กระปุกนะครับ สมัยนี้เค้าไม่ทำแบบนี้กันแล้ว ดึงเบรคมือ หรือใส่เกียร์ P)

      ลบ
  13. จากรูปแสดงว่า เกียร์ที่เหมาะกับการใช้งาน จริงๆ จาก zone 1 - 3 มี่แค่ 13 speed ไม่ใช่ 27 speed ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การนับสปีด เฟื่องหน้าจะมีแค่ 3 ครับ จะนับเฟืองหลังแทน
      สำหรับเฟื่องหลังสมัยใหม่ จะมี 10 เฟืองครับ คูณกับจานหน้าหรือ เฟื่องหน้า จะได้ 30 สปีดครับ จะได้ไม่งง
      ในกรณี 27 สปีด ก็ เฟื่องหลังจะมี 9 เฟือง ครัง ได้ 27 สปีด พอดี

      ลบ